กระซู่


ชื่อภาษาไทย : กระซู่ , แรดขน , แรดสุมาตรา

ชื่อสามัญ : Sumatran Rhinoceros

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicerorhinus sumatrensis



กระซู่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรด กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแรดเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dicerorhinus มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือนแรดชวา นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 ซม. ลำตัวมีขนหยาบและยาวปกคลุม 

วิวัฒนาการ
บรรพบุรุษของแรดได้วิวัฒนาการแยกตัวออกจากสัตว์กีบคี่อื่นครั้งแรกในสมัยตอนต้นยุคแรกเริ่มที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถือกำเนิดขึ้นมา (Eocene) การเปรียบเทียบทางไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอ (Mitochondrial DNA) แสดงว่าบรรพบุรุษของแรดในปัจจุบันแยกตัวจากบรรพบุรุษของม้าราวๆ 50 ล้านปีมาแล้ว ในวงศ์ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน แรดปรากฏขึ้นครั้งแรกในตอนปลายยุคอีโอซีนในทวีปยูเรเชีย และบรรพบุรุษของแรดในปัจจุบันมีการกระจายพันธุ์จากเอเชียในยุคไมโอซีน (Miocene)
กระซู่มีลักษณะที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษสมัยไมโอซีนน้อยที่สุดในบรรดาแรดด้วยกัน ในการศึกษาหลักฐานทางบรรพชีวินวิทยาในอายุซากดึกดำบรรพ์สกุล Dicerorhinus อยู่ในตอนต้นยุคไมโอซีนหรือประมาณ 2316 ล้านปีมาแล้ว ข้อมูลทางโมเลกุลแสดงว่า Dicerorhinus แยกจากสปีชีส์อื่นย้อนไปไกลถึง 25.9 ± 1.9 ล้านปี มีสมมุติฐานสามข้อที่ความสัมพันธ์ระหว่างกระซู่กับแรดชนิดอื่น 

ลักษณะ
กระซู่ที่โตเต็มที่มีความสูงจรดหัวไหล่ประมาณ 120–145 ซม. ลำตัวยาวประมาณ 250 ซม. มีน้ำหนัก 500–800 กก. ถึงแม้ว่าจะมีกระซู่บางตัวในสวนสัตว์ที่หนักมากกว่า 1000 กก. กระซู่เหมือนกับแรดในแอฟริกาที่มีสองนอ นอใหญ่อยู่บริเวณจมูก โดยทั่วไปมีขนาด 15–25 ซม. ยาวที่สุดเท่าที่มีบันทึกไว้คือ 81 ซม. นอด้านหลังมีขนาดเล็กกว่ามาก ปกติแล้วจะยาวน้อยกว่า 10 ซม. และบ่อยครั้งที่เป็นแค่ปุ่มขึ้นมา นอมีสีเทาเข้มหรือสีดำ เพศผู้มีนอใหญ่กว่าเพศเมียหรือในเพศเมียบางตัวอาจไม่มีนอใน และไม่มีลักษณะแบ่งเพศที่เด่นชัดอื่นอีก กระซู่มีอายุโดยประมาณ 30-45 ปีเมื่ออยู่ตามธรรมชาติ มีหนังพับย่นขนาดใหญ่สองวงรอบที่ลำตัวบริเวณหลังขาหน้าและก่อนขาหลัง ที่คอมีรอยพับย่นเล็กน้อยรอบคอและรอบตา ริมฝีปากบนแหลมเป็นจะงอย หนังหนา 10-16 มม. มีสีน้ำตาลอมเทา ริมฝีปากและผิวหนังใต้ท้องบริเวณขามีสีเนื้อ กระซู่มีขนยาวบริเวณรอบหูและปกคลุมบริเวณหลังไปถึงปลายหางซึ่งมีผิวหนังบาง กระซู่เหมือนกับแรดทุกชนิด มีสายตาที่แย่ แต่ประสาทหูและประสาทรับกลิ่นดีมาก กระซู่เคลื่อนที่ได้เร็วและกระฉับกระเฉง มันสามารถไต่เขาสูงชันและว่ายน้ำเก่ง

พฤติกรรม
กระซู่เป็นสัตว์สันโดษปกติจะอยู่เพียงลำพังตัวเดียวยกเว้นช่วงเวลาจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน ตัวผู้จะมีอาณาเขตประมาณ 50 กม. ขณะที่ตัวเมียมีอาณาเขตประมาณ 10-15 กม. อาณาเขตของตัวเมียจะแยกจากกัน ขณะที่ตัวผู้บ่อยครั้งจะมีอาณาเขตเหลื่อมซ้อนกัน เมื่อต่อสู้หรือป้องกันตัว กระซู่จะไม่ใช้นอพุ่งชนเหมือนแรดชนิดอื่นๆ แต่จะใช้ริมฝีปากซึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมงับแทน การบอกอาณาเขตกระทำโดยการขูดผิวดินด้วยเท้า การงอไม้หนุ่มด้วยรูปแบบที่แตกต่าง และการถ่ายมูล ละอองเยี่ยว กระซู่ออกหาอาหารเมื่อรุ่งเช้าและหลังเวลาเย็นก่อนค่ำ ระหว่างวันกระซู่จะนอนเกลือกกลิ้งในปลักโคลนเพื่อผ่อนคลายและพักผ่อน ในฤดูฝนกระซู่จะย้ายถิ่นสู่พื้นที่สูง ในฤดูหนาวก็จะย้ายกลับมาที่พื้นราบ กระซู่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันหมดไปกับการแช่ปลักโคลน เมื่อมันหาปลักโคลนไม่ได้กระซู่จะขุดดินเลนด้วยขาและนอเพื่อสร้างปลัก การแช่ปลักโคลนนี้จะช่วยกระซู่รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายและช่วยป้องกันผิวหนังของมันจากปรสิตภายนอกและแมลงอื่นๆ จากกระซู่ตัวอย่างที่จับได้  

อาหาร
กระซู่เป็นสัตว์เล็มกิน โดยกินอาหารประเภท ไม้หนุ่ม ใบ ผล กิ่ง หน่อ และผลไม้ที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน ปกติกระซู่จะกินอาหารมากถึง 50 กก.ต่อวัน จากมูลสัตว์ตัวอย่าง นักวิจัยพบอาหารมากกว่า 100 สปีชีส์ที่กระซู่กินเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นไม้หนุ่มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-6 ซม. กระซู่จะดันไม้หนุ่มด้วยลำตัว เดินไปเหนือไม้หนุ่มโดยไม่เหยียบทับ และลงมือกินใบ พืชหลากหลายชนิดที่กระซู่กินเข้าไปเป็นแค่ส่วนเล็กๆของอาหารทั้งหมดซึ่งแสดงว่ากระซู่จะเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมการกินต่างกันไปตามแต่บริเวณพื้นที่ พืชส่วนใหญ่ที่กระซู่กินจะเป็นสปีชีส์ในวงศ์เปล้า วงศ์เข็ม และ วงศ์โคลงเคลง โดยทั่วไปแล้วกระซู่จะกินพืชสกุลหว้าอาหารของกระซู่มีใยอาหารสูงและมีโปรตีนพอสมควร ดินโป่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของกระซู่ โป่งอาจเป็นบริเวณเล็กๆที่มีน้ำเกลือหรือโคลนภูเขาไฟไหลซึมออกมา

การสื่อสาร
กระซู่มีการเปล่งเสียงมากที่สุดในบรรดาแรดด้วยกัน จากการสังเกตกระซู่ในสวนสัตว์แสดงถึงว่ากระซู่นั้นเปล่งเสียงเสมอๆและมันรู้จักที่จะทำดังเช่นในป่ากระซู่สร้างเสียงที่แตกต่างกันสามเสียง : อีป , วาฬ , และผิวปาก เป่า

การสืบพันธุ์
กระซู่เพศเมียจะโตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุ 6-7 ปี ขณะที่เพศผู้จะโตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 10 ปี กระซู่ตั้งท้องประมาณ 15-16 เดือน โดยทั่วไปกระซู่มีน้ำหนักแรกเกิด 40-60 กก. มีขนแน่นและสีขนออกแดง หย่านมเมื่ออายุ 15 เดือนและอาศัยอยู่กับแม่ 2-3 ปีแรก ในธรรมชาติกระซู่มีระยะตั้งท้องแต่ละครั้งห่างกัน 4-5 ปี พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกนั้นยังไม่มีการศึกษา                                                                                             

ที่มา : https://th.wikipedia.org