ชื่อภาษาไทย : เก้งหม้อ,เก้งดำ,เก้งดง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Fea's muntjac
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muntiacus feae
เก้งหม้อมีลักษณะทั่วไปคล้ายเก้งธรรมดาแต่สีเข้มกว่า
หนักประมาณ 18-21 กิโลกรัม ความยาวลำตัว 88 เซนติเมตร
สีตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มอมเหลือง สันหลังเข้มกว่าที่อื่นๆ หน้าท้องสีขาว
หางยาว 23 เซนติเมตร หางด้านบนสีดำ ใต้หางสีขาว
ขาท่อนล่างจนถึงกีบสีดำ หน้าสีน้ำตาลเข้ม
มีเส้นสีดำลากจากโคนเขามาจนถึงหัวตาดูเป็นรูปตัววี ใบหูไม่มีขน มีต่อมน้ำตาใหญ่ยาว
ปลายด้านชี้ไปที่ลูกตามีขอบนูนสูง เก้งหม้อตัวผู้มีเขี้ยวยาวไว้ใช้ต่อสู้
เขี้ยวโค้งออกด้านหน้าเช่นเดียวกับเก้งทั่วไป เก้งหม้อตัวผู้มีเขาสั้น
เขาแต่ละข้างมีสองกิ่ง กิ่งหน้าสั้นกว่ากิ่งหลัง โคนเขามีขนดำหนาคลุมรอบ
ระหว่างโคนเขามีขนสีเหลืองฟูเป็นกระจุก จึงมีชื่ออีกชื่อว่า “กวางเขาจุก”เป็นเก้งที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าเหลือเพียงตัวเดียวในโลก ที่สวนสัตว์ดุสิต แต่ปัจจุบัน
ยังพอหาได้ตามป่าธรรมชาติและวัดในพรมแดนไทยพม่า ที่พระสงฆ์เลี้ยงอยู่
เก้งหม้ออาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง เช่น
บริเวณหุบเขาหรือป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ อดน้ำได้ไม่เก่งเท่าเก้งธรรมดา
ออกหาอาหารตามลำพังในช่วงเย็นหรือพลบค่ำ แต่ในบางครั้งอาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็กๆ
ในฤดูผสมพันธุ์ จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2535
เก้งหม้ออาศัยอยู่ในเทือกเขาตระนาวศรีชายแดนไทย-พม่า
ในประเทศไทยพบที่ตาก ราชบุรี สุราฎร์ธานี ไม่พบในคาบสมุทรมลายู
แต่คาดว่าน่าจะพบในลาวและเวียดนามด้วย มักพบอยู่ในป่าดิบทึบบนภูเขา
ในประเทศจีนพบอยู่ในป่าบนภูเขาที่มีป่าสนกับป่าพืชใบกว้างหรือป่าไม้พุ่มผสมกันที่ระดับความสูง
2,500 เมตร เก้งหม้อหากินตอนกลางวันและโดยลำพังตามพื้นที่เปิดโล่งระหว่างแหล่งน้ำ
กินหญ้า ใบไม้และผลไม้ที่ตกบนพื้น แม่เก้งหม้อตั้งท้องนาน
180 วัน ออกลูกตามพุ่มไม้ทึบ
ลูกเก้งจะซ่อนอยู่ในพุ่มไม้จนกระทั่งเริ่มจะเดินตามแม่ได้
ที่มา : http://www.verdantplanet.org